วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 5

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ ถิ่นแจ่ม
วัน/เดือน/ปี 4 ธันวาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ 5 เวลาเรียน พุธเช้า 08.30 น.
เวลาเข้าเรียน 08.30 น. ห้อง 432(จษ) อาคาร 4 



      อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่กลุ่มตนเองได้รับมอบหมายเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

กลุ่มที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ 
      ก่อนเข้าสู่การกิจกรรม เพื่อนกลุ่มนี้ได้ให้เพื่อนๆในห้องร่วมกันร้องเพลงออกกำลังกาย ซึ่งเป็นเพลงเกี่ยวกับเรื่องการนับและได้นำเสนอกิจกรรมที่เกี่ยวข้องเรื่องจำนวน โดยการให้เปรียบเทียบผลไม้ 

 ตัวอย่างเช่น




      มีแอปเปิ้ลให้เด็กๆ ดู 2ลูก

      ถ้าถามเด็กๆว่า แอปเปิ้ล 2ลูกนี้ ลูกรูปไหนใหญ่กว่า ลูกไหนเล็กกว่า เด็ก ๆ จะบอกว่าลูกที่1ใหญ่กว่า ลูกที่2เล็กกว่า โดยเด็กจะตอบตามสิ่งที่ตนเห็น





กลุ่มที่ 2 รูปทรงเรขาคณิต


      ก่อนเข้าสู่บทเรียนเรื่องรูปทรงเรขาคณิต ครูอาจจะถามเด็กๆ ก่อนว่า อวัยวะส่วนไหนของร่างกายเด็กๆที่สามารถทำเป็นรูปทรงได้บ้าง เช่น รูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม 
       ต้วอย่างกิจกรรม 
       ครูนำรูปสี่เหลี่ยมมาให้เด็กๆดู แล้วให้เด็กๆใช้อวัยวะของร่างกายทำเป็นรูปสีเหลี่ยม และถามเด็กๆว่า รูปสี่เหลี่ยมสามารถเป็นอะไรได้บ้าง อาจจะยกตัวอย่างให้เด็กๆดูก่อน เช่น กล่องของขวัญเป็นรูปสี่เหลี่ยม จากนั้นเด็กๆ ตอบโดยการพูดหรือวาดรูปก็ได้ 

     ตัวอย่างกิจกรรม 
     ครูให้เด็กๆ สังเกตในห้องเรียนว่ามีอะไรบ้างที่มีลักษณะเป็นรูปทรงเรขาคณิต ให้หยิบรูปทรงเรขาคณิตที่รู้จักมาให้เพื่อนดูและครูคอยแนะนำรูปทรงที่เด็กยังไม่รู้จัก แล้วสรุปถึงรูปทรงที่เด็กๆรู้จักและประเภทของรูปทรงอีกครั้ง จากนั้น ให้เด็กนำรูปทรงต่างๆ มาต่อเติมตามจินตนาการและนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน

ประโยชน์จากรูปทรง
  • การสอนเรื่องรูปร่างและรูปทรงเด็กจะได้ฝึกการใช้ประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อของตนเอง 
  • ช่วยให้เด็กมีประสบการณ์กว้างขึ้น เด็กได้รู้จักรูปร่างและรูปทรงสิ่งต่างๆ รอบตัว
  • เด็กได้มีโอกาสคิดและตัดสินใจจากสิ่่งที่เห็นคือ รูปทรงและวัตถุที่มีรูปร่างต่างๆ เด็กได้เปรียบเทียบเห็นความเห็น ความแตกต่าง และความคล้าย




กลุ่มที่ 3 การวัด
       การสอนเด็กเกี่ยวกับเรื่องการวัด ควรนำสิ่งของจริงมาให้เด็กดูและสัมผัส ซึ่งเด็กในวัยนี้จะให้ความสำคัญกับสิ่งที่ตนเองเห็นและตอบตามสิ่งที่เห็นในขณะนั้น

ตัวอย่างที่ 1


       
 จากภาพ เป็นการวัดความสูงของยีราฟกับหนอน 
ถ้าเปรียบเทียบจากสูงไปต่ำ จะได้ว่า ยีราฟสูงกว่าหนอน
    

 ตัวอย่างที่ 2
          

        จากภาพ เป็นการวัดน้ำหนัก หนัก-เบาของมังคุด 
        ถ้าเปรียบเทียบจากลูกที่หนักไปเบา จะได้ว่า ลูกที่อยู่ซ้าย หนักกว่า ลูกที่อยู่ขวามือ

** การวัดของเด็กปฐมวัยไม่ใช้หน่วยมาตรฐานในการวัด โดยการวัดของเด็กนั้นจะเอาสิ่งของต่าง ๆ มาเรียงต่อกัน เช่น ดินสอ ไม้บรรทัด เป็นต้น




กลุ่มที่ 4 พีชคณิต 





         จากภาพ ให้หาภาพที่สัมพันธ์กันมาเติมลงในช่องว่าง เช่น
รูปที่1 สามเหลี่ยม รูปที่2 สี่เหลี่ยม รูปที่3 วงกลม
รูปที่4 สามเหลี่ยม รูปที่5 สี่เหลี่ยม รูปที่6........... (จะเป็นรูปอะไร?) 





กลุ่มที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

ตัวอย่างที่1
      การโยนเหรียญบาท 1 เหรียญ 1 ครั้ง ผลที่จะเกิดขึ้นได้ คือ ขึ้นหัว ขึ้นก้อย ดังรูป


ดังนั้น ผลลัพธ์ทั้งหมดที่จะเกิดขึ้น คือ หัว ก้อย

ตัวอย่างที่ 2



สมมุติว่า มีลูกปิงปอง 2 สีอยู่ในกล่อง คือ สีขาว กับ สีน้ำเงิน
ครูถามเด็กๆ ว่า ถ้าครูจับออกมา 1 ลูก เด็ก ๆ คิดว่าครูจะจับได้สีอะไร?
เด็กๆ แต่ละคนจะตอบไม่เหมือนกัน บางคนก็ตอบสีขาว บางคนก็ตอบสีน้ำเงิน




กิจกรรมในวันนี้


        อาจารย์ให้วาดรูปวงกลมกลางหน้ากระดาษ แล้วให้เขียนเลขที่ตัวเองชอบลงในวงกลม หลังจากนั้นให้วาดรูประบายสีกลีบดอกไม้ตามที่เขียนเลขไว้ในวงกลม





ความรู้ที่ได้รับ
              สามารถนำเอากิจกรรมต่างๆ ในวันนี้ไปปรับใช้กับเด็กๆได้ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กได้ใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น