วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 15



บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  ถิ่นแจ่ม
วัน/เดือน/ปี 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557
ครั้งที่ 15 เวลาเรียน พุธเช้า 08.30 น.
เวลาเข้าเรียน 08.30 น. ห้อง 432(จษ) อาคาร 4

        สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายของการเรียนการสอน  อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอสื่อการสอนวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ได้มอบหมายให้นักศึกษาไปทำ 


ชื่อสื่อ : คณิตคิดสนุก


ชื่อสื่อ : เอ๊ะมีกี่รูป


ชื่อสื่อ : จับคู่หรรษา
วิธีเล่น 
1.รูปหยิบรูปเต็มแต่มีแรเงาสีดำครึ่งหนึ่งอยู่ทางขวามือมาให้เด็กดูแล้วให้เด็กหาครึ่งหนึ่งที่ถูกแรเงาด้วยสีดำ
2.ครูกำหนดว่าครึ่งหนึ่งของรูปที่ถูกแรเงานั้นจะต้องเป็นรูปทรงเหมือนตัวแบบที่ครูเอามาให้ดู
3.ครูอาจกำหนดรูปทรงที่ต่างจากตัวแบบก็ได้


ขื่อสื่อ :  นาฬิกาหรรษา
วิธีการเล่น
1.ให้เด็กรู้จักนาฬิกาก่อนว่านาฬิกามีลักษณะอย่างไร
2.ครูถอดชิ้นส่วนที่เป็นตัวเลขของนาฬิกาออก
3.ให้เด็กประกอบชิ้นส่วนของนาฬิกาให้ถูกต้องตามตัวเลขและรูปทรง
4.ให้เด็กเลือกภาพที่มีความสัมพันธ์กับเวลาแล้วนำไปเสียบด้านบนที่เป็นวงกลม  ข้างซ้ายมือเป็นพระจันทร์หรือพระอาทิตย์ส่วนด้านขวามือเป็นภาพการใช้ชีวิตประจำวันของเด็ก


ชื่อสื่อ :  รูปทรงเรขาคณิตน่ารู้
วิธีเล่น นำชิ้นส่วนที่ขาดหายไปของรูปทรงเรขาคณิตมาประกอบให้สมบูรณ์


ชื่อสื่อ : บรรไดงูมหาสนุก


 ชื่อสื่อ : จำนวนนับพาเพลิน


ชื่อสื่อ : รูปเรขาคณิตกับสิ่งของเครื่องใช้ประจำวัน
วิธีเล่น  นำรูปภาพของสิ่งของที่ใช้ในชีวิตประจำวัน มาจับคู่กับรูปทรงเรขาคณิตแล้วนำไปวางให้ตรงกับชื่อของรูปทรงเรขาคณิต



ชื่อสื่อ : จับคู่ภาพเหมือนผลไม้


ชื่อสื่อ :  เรียงลำดับพาเพลิน


ชื่อสื่อ : แผงไข่นับเลข


ชื่อสื่อ : ต่อตัวเลขแสนสนุก


ขื่อสื่อ :  ติ๊กต็อก


 ชื่อสื่อ : ร้านค้าพาเพลิน



สื่อที่ดิฉันชอบ : ชื่อสื่อนาฬิกาหรรษา
         เหตุผลที่เลือกสื่อชิ้นนี้ เพราะ สื่อชิ้นนี้มีความน่าสนใจ ทำให้เราอยากเล่นและคิดว่าน่าจะสนุกเป็นสื่อที่มีความหลากหลาย เด็กจะได้รู้จักเรื่องของเวลา รูปทรง และเด็กได้รู้จักภาพที่มีความสัมพัธ์กับการใช้ชีวิตประจำวันของเด็กอีกด้วย 

       

วิธีการเล่น
1.ให้เด็กรู้จักนาฬิกาก่อนว่านาฬิกามีลักษณะอย่างไร
2.ครูถอดชิ้นส่วนที่เป็นตัวเลขของนาฬิกาออก
3.ให้เด็กประกอบชิ้นส่วนของนาฬิกาให้ถูกต้องตามตัวเลขและรูปทรง
4.ให้เด็กเลือกภาพที่มีความสัมพันธ์กับเวลาแล้วนำไปเสียบด้านบนที่เป็นวงกลม  ข้างซ้ายมือเป็นพระจันทร์หรือพระอาทิตย์ส่วนด้านขวามือเป็นภาพการใช้ชีวิตประจำวันของเด็ก
ประโยชน์

1.เด็กได้รู้จักเวลาและกิจวัตรประจำวัน
2.เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงเรขาคณิตและเรื่องของพีชคณิต
3.ฝึกการคิดและการกล้าตัดสินใจ



ความรู้ที่ได้รับ
           ได้เห็นสื่อหลายๆรูปแบบ ซึ่งสามารถนำสื่อที่เพื่อนแต่ละกลุ่มได้นำเสนอในวันนี้นำไปปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของอาจารย์ให้สื่อมีความน่าสนใจและมีคุณภาพยิ่งขึ้นเพื่อนำไปต่อยอดเป็นสื่อทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้จริง 


วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 14



บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  ถิ่นแจ่ม
วัน/เดือน/ปี 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557
ครั้งที่ 14 เวลาเรียน พุธเช้า 08.30 น.
เวลาเข้าเรียน 08.30 น. ห้อง 432(จษ) อาคาร 4

*  สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน

วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 13

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  ถิ่นแจ่ม
วัน/เดือน/ปี 29 มกราคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 13 เวลาเรียน พุธเช้า 08.30 น.
เวลาเข้าเรียน 08.30 น. ห้อง 432(จษ) อาคาร 4

      วันนี้ดิฉันไม่ได้มาเรียน แต่ได้ถามเรื่องงานกับเพื่อนและติดต่องานกับอาจารย์  อาจารย์ให้เขียนแผนการสอนโดยให้ประยุกต์ใช้กับการจัดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ ซึ่งดิฉันและเพื่อนได้ทำงานส่งย้อนหลังเรียบร้อยแล้วค่ะ 

วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 12

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  ถิ่นแจ่ม
วัน/เดือน/ปี 22 มกราคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 12 เวลาเรียน พุธเช้า 08.30 น.
เวลาเข้าเรียน 08.30 น. ห้อง 432(จษ) อาคาร 4


       สัปดาห์นี้อาจารย์มีกิจกรรมให้นักศึกษาทำ 2กิจกรรม กิจกรรมแรก อาจารย์แจกกระดาษและอุปกรณ์แล้วให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มทำตัวหนอนหรือสร้างสรรค์ผลงานออกมาโดยใช้รูปทรงเรขาคณิตทำออกมาในรูปแบบของพีชคณิต โดยอาจารย์มีตัวอย่างแบบหนอนมาให้ดูก่อนที่จะทำ 


 เสร็จแล้วผลงานของดิฉันและเพื่อน ๆ







 กิจกรรมที่ 2 อาจารย์ให้ดูตัวอย่างแผนภูมิสำหรับเด็กปฐมวัย แล้วให้นักศีกษาแบ่งกลุ่มเป็น 3 กลุ่ม ร่วมกันคิดแผนภูมิตามข้อหัวที่ได้รับมอบหมาย โดยมีตัวอย่างให้ดู ดังนี้ 

รูปแบบที่1 

รูปแบบที่ 2

รูปแบบที่ 3




กลุ่มที่ 1 การเปรียบเทียบของใช้ในห้องนอนกับห้องครัว

วิธีสอน  ครูชูภาพให้เด็กดูแล้วให้เด็กตอบว่าเป็นรูปของใช้อะไร ควรจะจัดอยู่ในหมวดไหน ให้เด็กๆตอบแล้วครูนำรูปไปแปะที่หมวดนั้นให้ถูกต้อง   
       รูปแบบการสอนนี้ เด็กจะได้ฝึกการคิด การแยกแยะ และการสังเกตสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน



กลุ่มที่ 2 การเปรียบเทียบความเหมือนความต่างระหว่างแมวกับวัว


วิธีสอน  ครูมีตารางเปรียบเทียบความเหมือนและความต่างของแมวกับวัวมาให้เด็กๆดู แล้วให้เด็กๆ ร่วมกันแสดงความคิดเห็นว่า แมวกับวัวมีอะไรที่เหมือนและอะไรที่ต่างกันบ้าง  แล้วครูก็นำสิ่งที่เด็กตอบมาเขียนลงในวงกลม โดยถ้าสิ่งนั้นเหมือนกันให้เขียนลงช่องกลางระหว่างวงกลมแมวกับวัว 
      รูปแบบการสอนนี้ เด็กๆจะได้ฝึกการสังเกตและการแสดงความคิดเห็นร่วมกัน



กลุ่มที่ 3  สำรวจสัตว์แบบไหนที่หนูชอบ

วิธีสอน  ครูกำหนดรูปสัตว์มาให้เด็กๆ 4รูป คือรูปผีเสื้อ ปลา แมว นก หลังจากนั้น ครูให้เด็กออกมาเปะชื่อตัวเองในช่องสัตว์ที่ตนเองชอบ แล้วร่วมกันสรุปว่าสัตว์ชนิดไหนที่เด็กชอบมากที่สุด และสัตว์ชนิดใดที่มีเด็กชอบน้อยที่สุด 
      รูปแบบการนี้ เป็นการสังเกตความชอบของเด็ก เด็กได้ฝึกการคิดและแสดงความคิดเห็นของตนเอง  



ความรู้ที่ได้รับ
       กิจกรรมทั้ง 2กิจกรรมที่ได้ทำวันนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเด็กได้ โดยกิจกรรมแรกให้เด็กเรียนรู้คณิตศาสตร์ร่วมกันโดยใช้ศิลปะในการออกแบบความคิดและผลงานร่วมกัน ส่วนกิจกรรมที่ 2 เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กรู้จักสังเกตและมีความกล้าแสดงออกในการออกความคิดเห็น

วันเสาร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 11

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  ถิ่นแจ่ม
วัน/เดือน/ปี 15 มกราคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 11 เวลาเรียน พุธเช้า 08.30 น.
เวลาเข้าเรียน 08.30 น. ห้อง 432(จษ) อาคาร 4


       วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทำ Big Book ร่วมกัน 1เรื่องให้ช่วยกันแต่งนิทานโดยการนำเอารูปทรงเรขาคณิตมาประยุกต์ใช้ในการแต่ง หลังจากช่วยกันแต่งนิทานเสร็จแล้ว มีชื่อเรื่องว่าลูกหมูเก็บฟืน อาจารย์ก็ให้แบ่งกลุ่ม 9กลุ่ม แล้วให้ตัวแทนออกมาจับหัวข้อ แล้วนำหัวข้อที่ได้รับมอบหมายไปช่วยกันวาดรูปตกแต่งให้สวยงาม

นิทานเรื่อง ลูกหมูเก็บฟืน
      กาลครั้งหนึ่งมีบ้านอยู่สามหลัง หลังที่หนึ่งมีรูปร่างเป็นวงกลมหลังที่สองมีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยม และหลังที่สามมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม ในบ้านแต่ละหลังมีลูกหมูอาศัยอยู่ หลังละ 2 ตัว หมูแต่ละตัวจะออกไปทำงานทุกเช้า หมูที่อยู่บ้านหลังที่เป็นวงกลมต้องเดินทางไปที่ทำงานซึ่งไกลมาก หมูที่อยู่บ้านสามเหลี่ยมกับสี่เหลี่ยมเดินทางไม่ไกลจากที่ทำงาน หมูที่อยู่บ้านหลังที่เป็นวงกลมเดินทางไปเก็บฟืนในป่า ซึ่งในป่ามีฟืนเยอะแยะ เจ้าหมู 2 ตัวก็เลยเรียกเพื่อนที่อยู่บ้านหลังสี่เหลี่ยมกับหลังสามเหลี่ยมเพื่อมาช่วยกันเก็บฟืน หมูทั้ง 6 ช่วยกันนับฟืนที่เก็บได้ทั้งหมด 10 ท่อน แล้วหมูก็นำฟืน 3 ท่อนไปจุดไฟ เพื่อทำกับข้าว หมูก็เลยเหลือฟืนทั้งหมด 7 ท่อน และหมูก็นำฟืน 7 ท่อนที่เหลือเก็บไว้ใช้ในวันต่อไป






















ภาพขณะทำกิจกรรม



ภาพนำเสนอผลงานนิทาน 



ความรู้ที่ได้รับ
      จากการทำนิทานในวันนี้ สามารถนำความรู้จากการแต่งนิทานและการนำเอารูปเรขาคณิตที่นำมาใช้ในการประกอบภาพไปปรับใช้กับเด็กปฐมวัยให้เหมาะสมได้ ทำให้ได้เรียนรู้คณิตศาสตร์ผ่านสื่อ นอกจากเด็กจะได้รับความสนุกสนานแล้ว เด็กยังได้เรียนรู้เรื่องการจำนวน รูปเรขาคณิต ไปในตัวด้วย     


วันเสาร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 10

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  ถิ่นแจ่ม
วัน/เดือน/ปี 8 มกราคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 10 เวลาเรียน พุธเช้า 08.30 น.
เวลาเข้าเรียน 08.30 น. ห้อง 432(จษ) อาคาร 4

กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
    เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
ให้เด็กได้เตรียมความพร้อมในด้านต่างๆทางคณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึกษา
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
-สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
-สาระที่ 2 การวัด
-สาระที่ 3 เรขาคณิต
-สาระที่ 4 พีชคณิต
-สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
-สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย
1.มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์ ( Mathematical thinking )
- จำนวนนับ 1 ถึง 20
- เข้าใจหลักการนับ
- รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
- รู้ค่าจำนวนนับ
- เปรียบเทียบ เรียงลำดับ
- การรวมและการแยกกลุ่ม
2.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับ ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน เวลา
- เปรียบเทียบ เรียงลำดับ และวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
- รู้จักเงินเหรียญบาทและธนบัตร
- เข้าใจเกี่ยวกับเวลาและคำที่ใช้บอกช่วงเวลา เช่น วันนี้ ตอนนี้ เมื่อวาน ตอนสายๆ เป็นต้น
3.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
- ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
- รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
4.มีความรู้ความเข้าใจแบบรูป ของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
5.มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่ายเด็กจะทำได้ตั้งแต่อนุบาล 3 ขึ้นไป
6.มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น

สาระมาตรฐานและการเรียนรู้
      สาระที่1 จำนวนและการดำเนินการ
      - มาตรฐาน ค.ป.1.1. เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนจริง
      จำนวน
- การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
- การอ่านเลขอารบิก เลขไทย และการเขียน
- การเปรียบเทียบจำนวน
- การเรียงลำดับจำนวน
       การรวมกลุ่มและการแยกกลุ่ม
- ความหมายการรวม
- รวมสิ่งต่างๆ ที่มีผลรวมไม่เกิน 10
- ความหมายการแยก และการแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ ไม่เกิน 10

      สาระที่2 การวัด
      - มาตรฐาน ค.ป.2.1. เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
       ความยาว น้ำหนักและปริมาตร
- การเปรียบเทียบ/การวัด/การเรียงลำดับความยาว
- การเปรียบ/การชั่ง/การเรียงลำดับน้ำหนัก
- การเปรียบเทียบปริมาตร/การตวง
       เงิน
- ชนิดและค่าของเงิน เหรียญและธนบัตร
       เวลา
- ช่วงเวลาในแต่ละวัน
- ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้บอกเกี่ยวกับฉัน

จากภาพ จะเห็นว่าเด็กใช้สิ่งของอุปกรณ์มาใช้แทนการวัด นั่นก็คือกระดาษ 
( เนื่องจากการวัดของเด็กปฐมวัยไม่มีหน่วยในการวัด )

ด็กได้เรียนรู้เรื่องการตวง แต่การวัดของเด็กปฐมวัยนั้นไม่มีหน่วย 
จึงเป็นการเปรียบเทียบความหนัก-เบา

      สาระที่3 เรขาคณิต
      - มาตรฐาน ค.ป.3.1. รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่งทิศทางและระยะทาง
      - มาตรฐาน ค.ป.3.2. รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิตและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการกระทำ
       ตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
- การบอก ตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทางของสิ่งต่างๆ เช่น ไกล ใกล้ ซ้าย ขวา เป็นต้น
       รูปเรขาคณิต สามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
- ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก
- วงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
- การเปลี่ยนแปลง รูปเรขาคณิตสองมิติ
- การสร้างสรรค์งานศิลปะจากรูปเรขาคณิต
- การเปลี่ยนแปลงรูปเรขา


รูปวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม

เมื่อพับครึ่งจะได้รูป ดังนี้

แต่เมื่อคลี่รูปออกแล้วจะกลับมาเป็นเหมือนเดิม


เกิดจากการนำเอารูปสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยมมาต่อกัน


 เด็กต้องเข้าใจว่า เป็นภาพที่นำรูปเรขาคณิตมาซ้อนกัน

      สาระที่4 พีชคณิต
      - มาตรฐาน ค.ป.4.1. เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
      แบบรูปและความสัมพันธ์
- แบบรูปของรูปที่มี รูปร่าง ขนาดที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง


ใช้เกณฑ์เรื่องรูปทรงและสีในการเรียง


 ................................................


( เด็กสามารถเข้าใจความสัมพันธ์ของรูปนี้ได้ )

      สาระที่5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
      - มาตรฐาน ค.ป.5.1. รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมนำเสนอ

      สาระที่6 ทักษะ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
      การแก้ปัญหา การใช้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

         ท้ายชั่วโมง  อาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละแผ่นแล้วให้นักศึกษาเดินมาหยิบรูปวงกลม สี่เหลี่ยม และสามเหลี่ยมเลือกมาคนละ1ชิ้น แล้วติดไว้กลางกระดาษ หลังจากนั้นให้นักศึกษาวาดรูปเป็นอะไรก็ได้ตามจินตนาการแล้วตกแต่งให้สวยงาม



ความรู้ที่ได้รับ
        ได้ความรู้เรื่องสาระการเรียนรู้ทั้ง6สาระ ที่นำไปใช้ในการเรียนการสอน ทำให้เข้าใจความรู้เรื่องคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมากขึ้นและกิจกรรมในวันนี้เป็นกิจกรรมที่สนุกมาก ได้จินตนาการในการคิดรูป สามารถนำไปปรับใช้กับเด็กได้ เป็นกิจกรรมที่เหมาะสำหรับเด็กปฐมวัย