วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 15



บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  ถิ่นแจ่ม
วัน/เดือน/ปี 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557
ครั้งที่ 15 เวลาเรียน พุธเช้า 08.30 น.
เวลาเข้าเรียน 08.30 น. ห้อง 432(จษ) อาคาร 4

        สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายของการเรียนการสอน  อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอสื่อการสอนวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ได้มอบหมายให้นักศึกษาไปทำ 


ชื่อสื่อ : คณิตคิดสนุก


ชื่อสื่อ : เอ๊ะมีกี่รูป


ชื่อสื่อ : จับคู่หรรษา
วิธีเล่น 
1.รูปหยิบรูปเต็มแต่มีแรเงาสีดำครึ่งหนึ่งอยู่ทางขวามือมาให้เด็กดูแล้วให้เด็กหาครึ่งหนึ่งที่ถูกแรเงาด้วยสีดำ
2.ครูกำหนดว่าครึ่งหนึ่งของรูปที่ถูกแรเงานั้นจะต้องเป็นรูปทรงเหมือนตัวแบบที่ครูเอามาให้ดู
3.ครูอาจกำหนดรูปทรงที่ต่างจากตัวแบบก็ได้


ขื่อสื่อ :  นาฬิกาหรรษา
วิธีการเล่น
1.ให้เด็กรู้จักนาฬิกาก่อนว่านาฬิกามีลักษณะอย่างไร
2.ครูถอดชิ้นส่วนที่เป็นตัวเลขของนาฬิกาออก
3.ให้เด็กประกอบชิ้นส่วนของนาฬิกาให้ถูกต้องตามตัวเลขและรูปทรง
4.ให้เด็กเลือกภาพที่มีความสัมพันธ์กับเวลาแล้วนำไปเสียบด้านบนที่เป็นวงกลม  ข้างซ้ายมือเป็นพระจันทร์หรือพระอาทิตย์ส่วนด้านขวามือเป็นภาพการใช้ชีวิตประจำวันของเด็ก


ชื่อสื่อ :  รูปทรงเรขาคณิตน่ารู้
วิธีเล่น นำชิ้นส่วนที่ขาดหายไปของรูปทรงเรขาคณิตมาประกอบให้สมบูรณ์


ชื่อสื่อ : บรรไดงูมหาสนุก


 ชื่อสื่อ : จำนวนนับพาเพลิน


ชื่อสื่อ : รูปเรขาคณิตกับสิ่งของเครื่องใช้ประจำวัน
วิธีเล่น  นำรูปภาพของสิ่งของที่ใช้ในชีวิตประจำวัน มาจับคู่กับรูปทรงเรขาคณิตแล้วนำไปวางให้ตรงกับชื่อของรูปทรงเรขาคณิต



ชื่อสื่อ : จับคู่ภาพเหมือนผลไม้


ชื่อสื่อ :  เรียงลำดับพาเพลิน


ชื่อสื่อ : แผงไข่นับเลข


ชื่อสื่อ : ต่อตัวเลขแสนสนุก


ขื่อสื่อ :  ติ๊กต็อก


 ชื่อสื่อ : ร้านค้าพาเพลิน



สื่อที่ดิฉันชอบ : ชื่อสื่อนาฬิกาหรรษา
         เหตุผลที่เลือกสื่อชิ้นนี้ เพราะ สื่อชิ้นนี้มีความน่าสนใจ ทำให้เราอยากเล่นและคิดว่าน่าจะสนุกเป็นสื่อที่มีความหลากหลาย เด็กจะได้รู้จักเรื่องของเวลา รูปทรง และเด็กได้รู้จักภาพที่มีความสัมพัธ์กับการใช้ชีวิตประจำวันของเด็กอีกด้วย 

       

วิธีการเล่น
1.ให้เด็กรู้จักนาฬิกาก่อนว่านาฬิกามีลักษณะอย่างไร
2.ครูถอดชิ้นส่วนที่เป็นตัวเลขของนาฬิกาออก
3.ให้เด็กประกอบชิ้นส่วนของนาฬิกาให้ถูกต้องตามตัวเลขและรูปทรง
4.ให้เด็กเลือกภาพที่มีความสัมพันธ์กับเวลาแล้วนำไปเสียบด้านบนที่เป็นวงกลม  ข้างซ้ายมือเป็นพระจันทร์หรือพระอาทิตย์ส่วนด้านขวามือเป็นภาพการใช้ชีวิตประจำวันของเด็ก
ประโยชน์

1.เด็กได้รู้จักเวลาและกิจวัตรประจำวัน
2.เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงเรขาคณิตและเรื่องของพีชคณิต
3.ฝึกการคิดและการกล้าตัดสินใจ



ความรู้ที่ได้รับ
           ได้เห็นสื่อหลายๆรูปแบบ ซึ่งสามารถนำสื่อที่เพื่อนแต่ละกลุ่มได้นำเสนอในวันนี้นำไปปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของอาจารย์ให้สื่อมีความน่าสนใจและมีคุณภาพยิ่งขึ้นเพื่อนำไปต่อยอดเป็นสื่อทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้จริง 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น