วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 3

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ ถิ่นแจ่ม
วัน/เดือน/ปี 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2556
ครั้งที่ 3 เวลาเรียน พุธเช้า 08.30 น.
เวลาเข้าเรียน 08.30 น. ห้อง 432(จษ) อาคาร 4 


จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การรู้จักคำศัพท์
  • เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวก ลบ
  • เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการหาคำตอบ
  • เพื่อให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
  • เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ
  • เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
1.การสังเกต ( Observation )
  • การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันในการเรียนรู้
  • โดยเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์อย่างมีจุดมุ่งหมาย
2.การจำแนกประเภท ( Classifying )
  • การแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งชิ้น
  • เกณฑ์ในการจำแนกคือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์

จากรูปภาพ สามารถจำแนกประเภทได้หลายรูปแบบ ดังนี้



จำแนกโดยใช้เกณฑ์ความต่างของรูปทรง  

จำแนกโดยใช้เกณฑ์ความต่างของสี

จำแนกโดยใช้เกณฑ์สีและรูปทรง

3.การเปรียบเทียบ ( Comparing )
  • เด็กต้องอาศัยความสัมพัธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไป
  • เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้นๆ และรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์ที่ต้องใช้


4.การจัดลำดับ ( Ordering )
  • เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง
  • การจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์

       ตัวอย่างเช่น การจัดลำดับลูกบอล จากเล็กไปใหญ่

และการเรียงลำดับจากเจริญเติบโตของต้นไม้


5.การวัด ( Measurement )
  • มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
  • การวัดสำหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่ อุณหภูมิ เวลา ระยะทาง ความยาว น้ำหนัก ปริมาณ

** การวัดของเด็กปฐมวัยไม่ใช้หน่วยมาตรฐานในการวัด **




6.การนับ ( Counting )
  • เด็กชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย
  • การนับแบบท่องจำนี้จะมีความหมายต่อเมื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง
7.รูปทรงและขนาด ( Sharp and Size )
  • เด็กส่วนใหญ่จะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาดก่อนจะเข้าโรงเรียน
คำศัพท์เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์
  • ตัวเลข = น้อย มาก น้อยกว่า มากกว่า ไม่มี ทั้งหมด
  • ขนาด = ใหญ่ คล้าย สองเท่า ใหญ่ที่สุด สูง เตี้ย
  • รูปร่าง = สามเหลี่ยม วงกลม สี่เหลี่ยม ยาว โค้ง สั้นกว่า แถว
  • ที่ตั้ง = บน ต่ำ ขวา สูงที่สุด ยอด ก่อน ระยะทาง ระหว่าง
  • ค่าของเงิน = สลึง ห้าสิบสตางค์ หนึ่งบาท สิบบาท
  • ความเร็ว = เร็ว ช้า เดิน วิ่ง คลาน
  • อุณหภูมิ = เย็น ร้อน อุ่น เดือด 


เห็นอะไรจากรูปปูตัวนี้บ้าง.. ?


จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาดูวีดีโอ 
เรื่อง พัฒนาการการสอนคณิตศาสตร์ 

        รายการตอนี้เราจะมาดูว่า การเฝ้าสังเกตุการณ์และการวางแผนอย่างรอบคอบ จากครูพี่เลี้ยงช่วยสนับสนุนการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ได้อย่างไร สำหรับเด็กวัยเนิร์สเซอรี่และอนุบาลหนึ่งของโรงเรียนประถมเกรทบาร์ที่เบอร์มิงแฮม อแมนดา แมคเคนนา หัวหน้าครูชั้นเด็กเล็ก เชื่อว่าการเรียนคณิต ศาสตร์ควรจะสนุกและเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ประจำวัน การสอนที่เน้นหลักพึ่งตัวเองและเรียนแบบเล่นคือหัวใจของการพัฒนาด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กเล็กในขั้นเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียนที่โรงเรียนเกรทบาร์แห่งนี้ 
      จุดสนใจของโรงเรียนในตอนนี้ มุ่งไปที่การส่งเสริมให้เด็กรู้จักแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ด้วยตัวเอง โดยพัฒนาทักษะต่างๆ เช่น การจดจำ ตัวเลข ลำดับที่ของตัเลข และการคำนวณ ครูพี่เลี้ยงสาธิตให้เราเห็นวิธีประเมินผลเด็ก โดยผ่านทางการเฝ้าสังเกตการณ์วันต่อวันและนำผลที่ได้จากการเฝ้าสังเกตการณ์นี้ไปเป็นข้อมูลในการประชุมครูและวางแผนอนาคตต่อไป โรงเรียนเชื่ออย่างแน่วแน่ว่าถ้าครูสามารถจูงใจให้เด็กๆสนุกกับวิชาคณิตศาสตร์ตั้งแต่วัยเด็ก ก็จะส่งผลต่อการเรียนรู้อย่างทั่วถึงทั้งโรงเรียน

       ท้ายชั่วโมงทำกิจกรรม อาจารย์แจกกระดาษและสี โดยให้นักศึกษาพับกระดาษเป็น3ช่อง แล้วให้นึกดูว่าระหว่างทางที่เดินมามหาวิทยาลัยนั้นผ่านสถานที่อะไรมาบ้าง เลือกมา3ที่ แล้ววาดรููประบายสีให้เรียบร้อย  







ความรู้ที่ได้รับ
          ได้รู้เกี่ยวกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยว่ามีอะไรบ้างและรู้จักแนวทางการนำไปใช้เกี่ยวกับการสอนมากขึ้น รวมถึงได้รับประโยชน์จากการทำกิจกรรมในวันนี้คือ รู้จักการเรียงลำดับ 1 2 3 ได้ฝึกการสังเกตว่าผ่านอะไรมาบ้างก่อนถึงมหาวิทยาลัยและยังสามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ไปปรับใช้ในวันข้างหน้าได้อีกด้วย 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น