วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 8

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  ถิ่นแจ่ม
วัน/เดือน/ปี 25 ธันวาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ 8 เวลาเรียน พุธเช้า 08.30 น.
เวลาเข้าเรียน 08.30 น. ห้อง 432(จษ) อาคาร 4


             * ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากเป็นวันสอบกลางภาคของมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม

วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 7

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  ถิ่นแจ่ม
วัน/เดือน/ปี 18 ธันวาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ 6 เวลาเรียน พุธเช้า 08.30 น.
เวลาเข้าเรียน 08.30 น. ห้อง 432(จษ) อาคาร 4

     ** สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดประชุมจึงให้นักศึกษาหยุดอ่านหนังสือเตรียมสอบกลางภาค





วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 6

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  ถิ่นแจ่ม
วัน/เดือน/ปี 11 ธันวาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ 6 เวลาเรียน พุธเช้า 08.30 น.
เวลาเข้าเรียน 08.30 น. ห้อง 432(จษ) อาคาร 4


* ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันกีฬาสีของคณะศึกษาศาสตร์
   
       กิจกรรมกีฬาสีวันนี้สนุกมากค่ะ ถึงจะร้อนมากถึงมากที่สุด แต่เพื่อนๆทุกคนก็สู้และทำเต็มที่ ถึงแม้ว้าปีจะไม่ชนะเพราะต้องยอมรับว่ามีเวลาซ้อมน้อยมากจริงๆค่ะ แต่สุดท้ายแล้วสิ่งที่ได้ตอบกลับมามันคุ้มค่ามากค่ะ คือ ได้เห็นความสามัคคีของทุกๆคนที่ร่วมมือกันอย่างเต็มที่








วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 5

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ ถิ่นแจ่ม
วัน/เดือน/ปี 4 ธันวาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ 5 เวลาเรียน พุธเช้า 08.30 น.
เวลาเข้าเรียน 08.30 น. ห้อง 432(จษ) อาคาร 4 



      อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่กลุ่มตนเองได้รับมอบหมายเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

กลุ่มที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ 
      ก่อนเข้าสู่การกิจกรรม เพื่อนกลุ่มนี้ได้ให้เพื่อนๆในห้องร่วมกันร้องเพลงออกกำลังกาย ซึ่งเป็นเพลงเกี่ยวกับเรื่องการนับและได้นำเสนอกิจกรรมที่เกี่ยวข้องเรื่องจำนวน โดยการให้เปรียบเทียบผลไม้ 

 ตัวอย่างเช่น




      มีแอปเปิ้ลให้เด็กๆ ดู 2ลูก

      ถ้าถามเด็กๆว่า แอปเปิ้ล 2ลูกนี้ ลูกรูปไหนใหญ่กว่า ลูกไหนเล็กกว่า เด็ก ๆ จะบอกว่าลูกที่1ใหญ่กว่า ลูกที่2เล็กกว่า โดยเด็กจะตอบตามสิ่งที่ตนเห็น





กลุ่มที่ 2 รูปทรงเรขาคณิต


      ก่อนเข้าสู่บทเรียนเรื่องรูปทรงเรขาคณิต ครูอาจจะถามเด็กๆ ก่อนว่า อวัยวะส่วนไหนของร่างกายเด็กๆที่สามารถทำเป็นรูปทรงได้บ้าง เช่น รูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม 
       ต้วอย่างกิจกรรม 
       ครูนำรูปสี่เหลี่ยมมาให้เด็กๆดู แล้วให้เด็กๆใช้อวัยวะของร่างกายทำเป็นรูปสีเหลี่ยม และถามเด็กๆว่า รูปสี่เหลี่ยมสามารถเป็นอะไรได้บ้าง อาจจะยกตัวอย่างให้เด็กๆดูก่อน เช่น กล่องของขวัญเป็นรูปสี่เหลี่ยม จากนั้นเด็กๆ ตอบโดยการพูดหรือวาดรูปก็ได้ 

     ตัวอย่างกิจกรรม 
     ครูให้เด็กๆ สังเกตในห้องเรียนว่ามีอะไรบ้างที่มีลักษณะเป็นรูปทรงเรขาคณิต ให้หยิบรูปทรงเรขาคณิตที่รู้จักมาให้เพื่อนดูและครูคอยแนะนำรูปทรงที่เด็กยังไม่รู้จัก แล้วสรุปถึงรูปทรงที่เด็กๆรู้จักและประเภทของรูปทรงอีกครั้ง จากนั้น ให้เด็กนำรูปทรงต่างๆ มาต่อเติมตามจินตนาการและนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน

ประโยชน์จากรูปทรง
  • การสอนเรื่องรูปร่างและรูปทรงเด็กจะได้ฝึกการใช้ประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อของตนเอง 
  • ช่วยให้เด็กมีประสบการณ์กว้างขึ้น เด็กได้รู้จักรูปร่างและรูปทรงสิ่งต่างๆ รอบตัว
  • เด็กได้มีโอกาสคิดและตัดสินใจจากสิ่่งที่เห็นคือ รูปทรงและวัตถุที่มีรูปร่างต่างๆ เด็กได้เปรียบเทียบเห็นความเห็น ความแตกต่าง และความคล้าย




กลุ่มที่ 3 การวัด
       การสอนเด็กเกี่ยวกับเรื่องการวัด ควรนำสิ่งของจริงมาให้เด็กดูและสัมผัส ซึ่งเด็กในวัยนี้จะให้ความสำคัญกับสิ่งที่ตนเองเห็นและตอบตามสิ่งที่เห็นในขณะนั้น

ตัวอย่างที่ 1


       
 จากภาพ เป็นการวัดความสูงของยีราฟกับหนอน 
ถ้าเปรียบเทียบจากสูงไปต่ำ จะได้ว่า ยีราฟสูงกว่าหนอน
    

 ตัวอย่างที่ 2
          

        จากภาพ เป็นการวัดน้ำหนัก หนัก-เบาของมังคุด 
        ถ้าเปรียบเทียบจากลูกที่หนักไปเบา จะได้ว่า ลูกที่อยู่ซ้าย หนักกว่า ลูกที่อยู่ขวามือ

** การวัดของเด็กปฐมวัยไม่ใช้หน่วยมาตรฐานในการวัด โดยการวัดของเด็กนั้นจะเอาสิ่งของต่าง ๆ มาเรียงต่อกัน เช่น ดินสอ ไม้บรรทัด เป็นต้น




กลุ่มที่ 4 พีชคณิต 





         จากภาพ ให้หาภาพที่สัมพันธ์กันมาเติมลงในช่องว่าง เช่น
รูปที่1 สามเหลี่ยม รูปที่2 สี่เหลี่ยม รูปที่3 วงกลม
รูปที่4 สามเหลี่ยม รูปที่5 สี่เหลี่ยม รูปที่6........... (จะเป็นรูปอะไร?) 





กลุ่มที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

ตัวอย่างที่1
      การโยนเหรียญบาท 1 เหรียญ 1 ครั้ง ผลที่จะเกิดขึ้นได้ คือ ขึ้นหัว ขึ้นก้อย ดังรูป


ดังนั้น ผลลัพธ์ทั้งหมดที่จะเกิดขึ้น คือ หัว ก้อย

ตัวอย่างที่ 2



สมมุติว่า มีลูกปิงปอง 2 สีอยู่ในกล่อง คือ สีขาว กับ สีน้ำเงิน
ครูถามเด็กๆ ว่า ถ้าครูจับออกมา 1 ลูก เด็ก ๆ คิดว่าครูจะจับได้สีอะไร?
เด็กๆ แต่ละคนจะตอบไม่เหมือนกัน บางคนก็ตอบสีขาว บางคนก็ตอบสีน้ำเงิน




กิจกรรมในวันนี้


        อาจารย์ให้วาดรูปวงกลมกลางหน้ากระดาษ แล้วให้เขียนเลขที่ตัวเองชอบลงในวงกลม หลังจากนั้นให้วาดรูประบายสีกลีบดอกไม้ตามที่เขียนเลขไว้ในวงกลม





ความรู้ที่ได้รับ
              สามารถนำเอากิจกรรมต่างๆ ในวันนี้ไปปรับใช้กับเด็กๆได้ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กได้ใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ 


สัปดาห์ที่ 4

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ ถิ่นแจ่ม
วัน/เดือน/ปี 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2556
ครั้งที่ 4 เวลาเรียน พุธเช้า 08.30 น.
เวลาเข้าเรียน 08.30 น. ห้อง 432(จษ) อาคาร 4 

     สัปดาห์นี้อาจารย์เบียร์ให้นักศึกษารายงานในหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย และได้แจกใบประเมินให้เพื่อนๆ ได้มีส่วนร่วมในการให้คะแนนครั้งนี้ 

กลุ่มที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
จำนวน หมายถึง วัตถุนามธรรมที่ใช้สำหรับอธิบายปริมาณ หมวด หมู่ แผนก ยอมรวมที่กำหนดนับไว้เป็นส่วนๆ
การดำเนินการ หมายถึง การลงมือกระทำ จัดการ ปฎิบัติการ ทำให้เป็นไป
จำนวนและการดำเนินการ คือ การรวมและการแยกกลุ่ม เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวน และการใช้จำนวนในชีวิตจริง

สาระการเรียนรู้ จำนวนและการดำเนินการ
  • การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
  • การอ่านตัวเลขฮินดู อารบิก และตัวเลขไทย
  • การเขียนตัวเลขฮินดู อารบิก แสดงจำนวน
  • การเปรียบเทียบจำนวน
  • การเรียงลำดับจำนวนการรวมและการแยกกลุ่ม
  • การรวมสิ่งต่างๆ สองกลุ่มที่มีผลรวมไม่เกิน 10
  • การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน 10
 แนวทางในการจัดประสบการณ์แก่เด็กปฐมวัยมี 5 ขั้นตอน ดังนี้
1.ปัจจัยสำคัญที่สอนเด็ก โดยแบ่งออกเป็น 4 ขั้น คือ
1.1 ขั้นใช้ของจริง เมื่อจะให้เด็กนับหรือเปรียบเทียบสิ่งของควรใช้ของจริง เช่น ผลไม้ ดินสอ เป็นต้น
1.2 ขั้นใช้รูปภาพแทนของจริง ถ้าหากหาของจริงไม่ได้ก็เขียนรูปภาพแทน
1.3 ขั้นกึ่งรูปภาพ คือ สมมุติเครื่องหมายต่างๆ แทนภาพหรือจำนวนที่จะให้เด็กนับหรือคิด
1.4 ขั้นนามธรรม ซึ่งเป็นขั้นสุดท้ายที่จะใช้ ได้แก่ เครื่องหมาย บวก ลบ

     การจัดประสบการณ์เรียนรู้จึงอาจจัดให้ทำกิจกรรมร่วมกันทั้งชั้น ทำในกลุ่มย่อย ทำเป็นรายบุคคล สถานที่ควรมีทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียน บริเวณโรงเรียนและศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ในชุมชนหรือในท้องถิ่น

คณิตศาสตร์ของเด็ก 3 ปี
1) เข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินห้า
2) เข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถเปรียบเทียบและใช้คำ
3) ใช้คำบอกตำแหน่งของสิ่งต่างๆ รู้จักทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ในชีวิตประจำวันและใช้ทรงกลมทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก สร้างสรรค์งานศิลปะ

คณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 4 ปี
1) เข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวนนับไม่เกินสิบ
2) เข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถเรียงลำดับความยาว-สั้นและเรียงลำดับกิจกรรมเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นได้
3) สามารถจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก และใช้ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวยทรงกระบอกสร้างสรรค์งานศิลปะ
4) เข้าใจ รูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กัน สามารถทำตามแบบรูปที่กำหนด

คณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 5 ปี
1) เข้าใจและมีความพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินยี่สิบ และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม การแยกกลุ่ม
2) เข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเงิน สามารถวัดและบอกความยาว น้ำหนัก และปรืมาตร สามานถเรียงลำดับชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์และบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อวาน วันนี้ พรุ่งนี้ เข้าใจเกี่ยวกับเงิน สามารถบอกชนิดและค่าของเงินเหรียญและธนบัตร
3) เข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง ทิศทางและระยะทาง สามารถจำแนกทรงกลมทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม

ตัวอย่าง





กลุ่มที่ 2 เรื่องรูปทรงเรขาคณิต


  • รูปสามเหลี่ยม มีด้าน 3 ด้าน มีมุม 3 มุม
  • รูปสี่เหลี่ยม มีด้าน 4 ด้าน มีมุม 4 มุม
  • รูปห้าเหลี่ยม มีด้าน 5 ด้าน มีมุม 5 มุม
  • รูปหกเหลี่ยม มีด้าน 6 ด้าน มีมุม 6 มุม
  • รูปวงรี มีเส้นโค้งเป็นวงรี โดยห่างจากจุดศูนย์กลางไท่ากัน
  • รูปวงกลม มีเส้นโค้งเป็นวงกลมและห่างจากจุดศูนย์กลางเป็นระยะทางเท่ากัน


ประโยชน์และความสำคัญของเรขาคณิต
  • เพื่อทำความเข้าใจหรืออธิบายสิ่งต่าง ๆ รอบตัว
  • ช่วยพัฒนาทักษะที่สำคัญ
  • ทักษะการคิด การใช้เหตุผลเป็นพื้้นฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่องอื่น ๆ


ตัวอย่าง เกมการศึกษารูปทรงเรขาคณิต



ตัวอย่าง กิจกรรมที่ใช้ในการสอนเรื่องรูปเรขาคณิต


วิธีเล่น
ให้เด็กโยนถุงทรายไปบนรูปทรงเรขาคณิตต่างๆ ตามที่ครูบอก



กลุ่มที่ 3 เรื่อง การวัด
        การวัด คือ การหาคำตอบเกี่ยวกับ เวลา ระยะทาง น้ำหนัก ด้วยการจับเวลา/การวัดระยะทาง/การชั่งน้ำหนักหรือการตวง เราเรียกวิธีการซึ่งใช้ข้างต้นรวมๆ กันว่าการวัด เช่น การชั่งน้ำหนัก เรียกว่า การวัดน้ำหนัก การตวง เรียกว่า การวัดปริมาตร


ทายซิว่าแต่ละคนสูงคนละกี่เซนติเมตร ?


หมากสูง 80 ซม.  ญาญ่าสูง 95 ซม.  ณเดชสูง 110 ซม.  พอชสูง 80 ซม.  เวียร์สูง 70 ซม.



ตัวอย่าง กิจกรรมที่ใช้ในการสอนเรื่องการวัด


      วิธีเล่น
      ให้เด็กโยนกล่องออกไปจากตัวว่าจะได้ระยะเท่าไรและให้เด็กวัดโดยการเก้าขาตนเอง และนับไปจนถึงกล่องที่โยนออกไป



กลุ่มที่ 4 พีชคณิต
       พีชคณิต คือ เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์ การแก้ปัญหา โดยใช้สมการคณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ใช้สัญลักษณ์มาศึกษาการจำแนกประเภท คุณสมบัติ และโครงสร้างของระบบจำนวนหรือระบบคณิตศาสตร์อื่นๆ ที่เน้นในเรื่องโครงสร้างเป็นสำคัญ รวมถึงการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระบบเหล่านั้นด้วย

       แบบรูป หรือที่บางครั้งเรียกว่า อนุกรม คือ ชุดของตัวเลขหรือรูปภาพที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง ในลักษณะของจำนวน รูปร่าง สี หรือ ขนาด ตามเกณฑ์ที่กำหนดซึ่งเมื่อทราบกฎเกณฑ์ที่กำหนดซึ่งเมื่อทราบกฎเกณฑ์หรือความสัมพันธ์ที่กำหนดในแต่ละแบบรูปเราก็จะสามารถบอกคาดเดาหรือคาดการณ์ได้ว่าสิ่งของต่างๆรูปเรขาคณิต รูปอื่นๆหรือจำนวนที่หายไปคืออะไร
ประเภทของรูปแบบ
1.แบบรูปของจำนวน  เป็นแบบรูปที่แสดงชุดของตัวเลขที่มีความสัมพันธ์กันในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง แบ่งออกเป็น 
1.1. แบบรูปของจำนวนที่เพิ่มขึ้น
1.2. แบบรูปของจำนวนที่ลดลง
1.3. แบบรูปของจำนวนที่ซ้ำ
2.แบบรูปเรขาคณิต  ป็นแบบรูปที่แสดงชุดของรูปเรขาคณิตที่มีความสัมพันธ์กันในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง แบ่งออกเป็น
2.1.แบบรูปที่มีความสัมพันธ์กันในลักษณะของรูปร่าง

ตัวอย่าง


       จากการสังเกต เราจะเห็นว่าแบบรูปแต่ละแถวเป็นแบบรูปที่ประกอบด้วยรูปเรขาคณิตที่มีรูปร่างเหมือนกัน แต่สีเรียงสลับตามลำดับซ้ำกันไปเรื่อยๆ
2.2. แบบรูปที่มีความสัมพันธ์กันในลักษณะของสี

ตัวอย่าง


       จากการสังเกต เราจะเห็นว่าแบบรูปแต่ละแถวเป็นแบบรูปที่ประกอบด้วยรูปเรขาคณิตที่มีสีเหมือนกัน แต่รูปทรงแตกต่างกันเรียงลำดับซ้ำกันไปเรื่อยๆ



กลุ่มที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
       ความน่าจะเป็น หมายถึง ค่าของโอกาส หรือความเป็นไปได้ ซึ่งสามารถวัดค่าได้เป็นตัวเลข ( 0 ถึง1 ) ถ้าค่าความน่าจะเป็นของเหตุการณ์เข้าใกล้ 1 หมายความว่า โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์นั้นมาก ถ้าค่าความน่าจะเป็นของเหตุการณ์เข้าใกล้ 0 หมายความว่า โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์นั้นน้อยมาก
     ในการทดลองหรือการกระทำใดๆ ที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ไม่แน่นอนหรือผลลัพธ์มากกว่าหนึ่งผลลัพธ์ เรียกว่า การทดลองสุ่ม

ตัวอย่าง


มีเสื้อสีส้ม 1 ตัว กางเกง 3 ตัว สีน้ำเงิน สีส้ม และสีดำ

เสื้อจับคู่กับกางเกงได้กี่ชุด ?


เสื้อจับคู่กับกางเกงได้ 3 ชุด คือ 
       1.เสื้อสีส้มกับกางเกงสีน้ำเงิน 
   2.เสื้อสีส้มกับกางเกงสีส้ม  
3.เสื้อสีส้มกับกางเกงสีดำ


ความรู้ที่ได้รับ
         ได้รับความรู้และเข้าใจเรื่องจำนวนและการดำเนินการ รูปทรงเรขาคณิต การวัด พีชคณิต และการวิเคราะห์ความน่าจะเป็นมากขึ้น ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้กับการเรียนการสอนในวันข้างหน้าได้



วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 3

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ ถิ่นแจ่ม
วัน/เดือน/ปี 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2556
ครั้งที่ 3 เวลาเรียน พุธเช้า 08.30 น.
เวลาเข้าเรียน 08.30 น. ห้อง 432(จษ) อาคาร 4 


จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การรู้จักคำศัพท์
  • เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวก ลบ
  • เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการหาคำตอบ
  • เพื่อให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
  • เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ
  • เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
1.การสังเกต ( Observation )
  • การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันในการเรียนรู้
  • โดยเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์อย่างมีจุดมุ่งหมาย
2.การจำแนกประเภท ( Classifying )
  • การแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งชิ้น
  • เกณฑ์ในการจำแนกคือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์

จากรูปภาพ สามารถจำแนกประเภทได้หลายรูปแบบ ดังนี้



จำแนกโดยใช้เกณฑ์ความต่างของรูปทรง  

จำแนกโดยใช้เกณฑ์ความต่างของสี

จำแนกโดยใช้เกณฑ์สีและรูปทรง

3.การเปรียบเทียบ ( Comparing )
  • เด็กต้องอาศัยความสัมพัธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไป
  • เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้นๆ และรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์ที่ต้องใช้


4.การจัดลำดับ ( Ordering )
  • เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง
  • การจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์

       ตัวอย่างเช่น การจัดลำดับลูกบอล จากเล็กไปใหญ่

และการเรียงลำดับจากเจริญเติบโตของต้นไม้


5.การวัด ( Measurement )
  • มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
  • การวัดสำหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่ อุณหภูมิ เวลา ระยะทาง ความยาว น้ำหนัก ปริมาณ

** การวัดของเด็กปฐมวัยไม่ใช้หน่วยมาตรฐานในการวัด **




6.การนับ ( Counting )
  • เด็กชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย
  • การนับแบบท่องจำนี้จะมีความหมายต่อเมื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง
7.รูปทรงและขนาด ( Sharp and Size )
  • เด็กส่วนใหญ่จะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาดก่อนจะเข้าโรงเรียน
คำศัพท์เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์
  • ตัวเลข = น้อย มาก น้อยกว่า มากกว่า ไม่มี ทั้งหมด
  • ขนาด = ใหญ่ คล้าย สองเท่า ใหญ่ที่สุด สูง เตี้ย
  • รูปร่าง = สามเหลี่ยม วงกลม สี่เหลี่ยม ยาว โค้ง สั้นกว่า แถว
  • ที่ตั้ง = บน ต่ำ ขวา สูงที่สุด ยอด ก่อน ระยะทาง ระหว่าง
  • ค่าของเงิน = สลึง ห้าสิบสตางค์ หนึ่งบาท สิบบาท
  • ความเร็ว = เร็ว ช้า เดิน วิ่ง คลาน
  • อุณหภูมิ = เย็น ร้อน อุ่น เดือด 


เห็นอะไรจากรูปปูตัวนี้บ้าง.. ?


จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาดูวีดีโอ 
เรื่อง พัฒนาการการสอนคณิตศาสตร์ 

        รายการตอนี้เราจะมาดูว่า การเฝ้าสังเกตุการณ์และการวางแผนอย่างรอบคอบ จากครูพี่เลี้ยงช่วยสนับสนุนการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ได้อย่างไร สำหรับเด็กวัยเนิร์สเซอรี่และอนุบาลหนึ่งของโรงเรียนประถมเกรทบาร์ที่เบอร์มิงแฮม อแมนดา แมคเคนนา หัวหน้าครูชั้นเด็กเล็ก เชื่อว่าการเรียนคณิต ศาสตร์ควรจะสนุกและเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ประจำวัน การสอนที่เน้นหลักพึ่งตัวเองและเรียนแบบเล่นคือหัวใจของการพัฒนาด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กเล็กในขั้นเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียนที่โรงเรียนเกรทบาร์แห่งนี้ 
      จุดสนใจของโรงเรียนในตอนนี้ มุ่งไปที่การส่งเสริมให้เด็กรู้จักแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ด้วยตัวเอง โดยพัฒนาทักษะต่างๆ เช่น การจดจำ ตัวเลข ลำดับที่ของตัเลข และการคำนวณ ครูพี่เลี้ยงสาธิตให้เราเห็นวิธีประเมินผลเด็ก โดยผ่านทางการเฝ้าสังเกตการณ์วันต่อวันและนำผลที่ได้จากการเฝ้าสังเกตการณ์นี้ไปเป็นข้อมูลในการประชุมครูและวางแผนอนาคตต่อไป โรงเรียนเชื่ออย่างแน่วแน่ว่าถ้าครูสามารถจูงใจให้เด็กๆสนุกกับวิชาคณิตศาสตร์ตั้งแต่วัยเด็ก ก็จะส่งผลต่อการเรียนรู้อย่างทั่วถึงทั้งโรงเรียน

       ท้ายชั่วโมงทำกิจกรรม อาจารย์แจกกระดาษและสี โดยให้นักศึกษาพับกระดาษเป็น3ช่อง แล้วให้นึกดูว่าระหว่างทางที่เดินมามหาวิทยาลัยนั้นผ่านสถานที่อะไรมาบ้าง เลือกมา3ที่ แล้ววาดรููประบายสีให้เรียบร้อย  







ความรู้ที่ได้รับ
          ได้รู้เกี่ยวกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยว่ามีอะไรบ้างและรู้จักแนวทางการนำไปใช้เกี่ยวกับการสอนมากขึ้น รวมถึงได้รับประโยชน์จากการทำกิจกรรมในวันนี้คือ รู้จักการเรียงลำดับ 1 2 3 ได้ฝึกการสังเกตว่าผ่านอะไรมาบ้างก่อนถึงมหาวิทยาลัยและยังสามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ไปปรับใช้ในวันข้างหน้าได้อีกด้วย 


วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 2

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ ถิ่นแจ่ม
วัน/เดือน/ปี 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2556
ครั้งที่ 2 เวลาเรียน พุธเช้า 08.30 น.
เวลาเข้าเรียน 08.30 น. ห้อง 432(จษ) อาคาร 4 


คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
          ระบบการคิดของมนุษย์เพื่ิอศึกษาและอธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ในเชิงปริมาณ โดยใช้ภาพ สัญลักษณ์ การพูด การเขียนและเป็นการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับจำนวณ ตัวเลข การคำนวณหรือการดำเนินการเกี่ยวกับจำนวน กาวัด เรขาคณิต พีชคณิตหรือแบบรูปความสัมพันธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น ซึ่งต้องใช้ความคิดที่เป็นระเบียบ มีเหตุผลและความคิดสร้างสรรค์

ความสำคัญของคณิตศาสตร์
  • เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
  • ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาโดยเฉพาะอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์
  • เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสำรวจข้อมูล วางแผนงานและประเมินผล
  • เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ของวิชาต่างๆโดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย
ตามแนวคิดของ Piaget
1.ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส (Sensorimotor Stage) แรกเกิด - 2ปี
  • เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสต่าง ๆ 
  • สามารถจำสิ่งต่าง ๆ บอกคุณลักษณะของวัตถุได้
2.ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล (Preoperational Stage) 2-7ปี
  • ใช้ภาษาพูดแสดงความรู้ ความคิด
  • เริ่มรู้จักคำที่บอกขนาด น้ำหนัก รูปทรงและความยาว
  • เล่นบทบาทสมมติเป็นพื้นฐานของพัฒนาความเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรมมากขึ้น เช่น จำนวน ตัวเลข ตัวอักษร คำที่มีความหมาย
  • เด็กในวัยนี้จะให้ความสัมคัญกับสิ่งที่สังเกตและรับรู้ได้ชัดเจนที่สุด
  • ไม่สามารถคงความคิดตามสภาพเดิมไว้ได้ เมื่อสภาพกายภาพเปลี่ยนแปลง ทำให้เด็กสามารถสั่งสมความคิดไว้ได้

การอนุรักษ์ ( Conservation )

เด็กสามารถพัฒนาการอนุรักษ์ได้โดย
  • โดยการนับ
  • การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
  • การเปรียบเทียบรูปทรง ปริมาตร
  • เรียงลำดับ
  • จัดกลุ่ม

หลักการการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

  • เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดคุย อธิบายและสำรวจความสัมพันธ์แบบต่างๆ ของคณิตศาสตร์ผ่านวัตถุและสื่ออุปกรณ์
  • ผสมผสานคณิตศาสตร์กับการเล่นและกิจกรรมที่มีการลงมือปฏิบัติ
  • ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ ในการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
  • ใช้คำถามปลายเปิด
  • เชื่อมโยงการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน


        ท้ายชั่วโมง อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมให้วาดรูปสัตว์  โดยมีข้อแม้ว่า สัตว์ตัวนั้นต้องมีหลายขา และระบายสีตกแต่งให้เรียบร้อย เมื่อวาดเสร็จอาจารย์บอกให้นักศึกษาเดินไปหยิบกระดาษสีเพื่อมาทำเป็นรองเท้าให้กับสัตว์ที่ตนเองวาด



     
   ผลงานของเพื่อน ๆ > <


ความรู้ที่ได้รับ
         ได้รับความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของคณิตศาสตร์  ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย หลักการจัดประสบการณ์ และกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมคณิตศาสตร์ซึ่งกิจกรรมนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนในอนาคตได้